กระดานสนทนา > พรรณไม้ > ขางนาง
Webmaster
uthayanclub@hotmail.com
ขางนาง (2130 อ่าน)
14 ก.ย. 2554 15:04
ขางนาง Tristaniopsis merguensis (Griff.) Peter G. Wilson & J.T. Waterh.Austral. J. Bot. 30(4): 439. 1982.
วงศ์
Myrtaceae
วิสัย
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 12 ม. หรือ 30 ม. ในต่างระเทศ เปลือกลอกเป็นแผ่น เนื้อไม้แข็ง ใบเดี่ยวรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 3-10 ซม. ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา เส้นกลางใบบุ๋มด้านบน เส้นแขนงใบข้างละ 17-34 เส้น ไม่เป็นระเบียบ มีเส้นแขนงใบย่อยแซม เส้นขอบใบห่างจากขอบใบประมาณ 0.5-1 มม. แผ่นใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-3 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจุก แยกแขนง ออกตามซอกใบ ยาวได้ประมาณ 10 ซม. แต่ละช่อกระจุกมีดอกเดียวหรือหลายดอก ก้านดอกสั้น ฐานดอกรูปกรวย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลม ขนาดประมาณ 1 มม. ก้านดอกเทียมยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอกสีขาวหรือครีมอมเหลือง แผ่นกลีบกลม ขนาดประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดๆ 5 มัด มัดละประมาณ 5-15 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก ก้านชูอับเรณูยาว 1-2.5 มม. มีขนที่โคน รังไข่อยู่กึ่งใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2 มม. แคปซูลยาว 1-1.2 ซม. แตกเป็น 3 ซีก เมล็ดยาว 8-9 มม. ปีกยับย่นขนาดเล็ก
การกระจายพันธุ์
พบที่อินเดีย (หมู่เกาะอันดามัน) พม่า กัมพูชา เวียดนาม คาบสมุทรมลายู บอร์เนียว และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ของไทย มักพบตามริมลำธาร ยอดเขา หรือในป่าพรุ ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1500 เมตร
อ้างอิงจาก : สำนักงานหอพรรณไม้
ภาพ : ราชันย์ ภู่มา (เขา 1490, ยะลา)
125.24.10.124
Webmaster
ผู้ดูแล
uthayanclub@hotmail.com