Webmaster
uthayanclub@hotmail.com
การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ (1605 อ่าน)
17 ต.ค. 2554 11:48
การปรากฏพื้นที่เพื่อความรื่นรมย์เช่นเดียวกับอุทยานแห่งชาตินั้น นับได้ว่ามีมาตั้งแต่ต้นสมัยประวัติศาสตร์สากลแล้ว แต่รูปแบบและวัตถุประสงค์ของการจัดการตั้งยังไม่พบชัดเจนและส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่ขนาดเล็กเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของผู้นำหรือผู้มีอำนาจราชศักดิ์ ผู้คนทั่วไปยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปใช้ประโยชน์ สำหรับในประวัติศาสตร์ไทยเท่าที่ปรากฏในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงปรับปรุงเขตพระราชฐานชั้นนอกให้เป็นอุทยานชื่อ "ดงตาล" เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนส่วนพระองค์และข้าราชบริพาร อีกทั้งได้ทรงส่งเสริมให้ราษฎรร่วมแรงร่วมใจกันสร้างอุทยานในบริเวณที่ติดกับวัดวาอารามต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพื้นทีเหล่านั้นเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ซึ่งก็สามารถอนุรักษ์สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในแถบนั้นไปด้วยโดยปริยาย สำหรับอุทยานแห่งชาติ (National Parks) ที่รู้จักกันในทุกวันนี้นั้นอาจกล่าวได้ว่ามีรูปแบบการจัดการที่ได้รับอิทธิพลมาจากการจัดการอุทยานแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา และหากนับตั้งแต่ได้ประกาศจัดตั้ง "อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกเมื่อ วันที่ 18 กันยายน 2505
การจัดการด้านการท่องเที่ยว
หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการจัดการอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ การอำนวยประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยวและนันทนาการ และเพื่อให้การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเป็นไปอย่างยั่งยืน และยังคงความเป็นเอกลักษณ์การจัดการด่านการท่องเที่ยวและนันทนาการจึงควรต้องดำเนินการภายใต้หลักการจัดการด้านนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่
ต้องไม่เน้นถึงคุณค่าธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ไม่จำเป็นต้องกำหนดประเภทหรือรูปแบบของกิจกรรมในพื้นที่เป็นสูตรสำเร็จ
เน้นการพัฒนาขนาดเล็กและการออกแบบที่กลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ
กำหนดให้การท่องเที่ยวต้องยังคงความยั่งยืนของระบบนิเวศ
ต้องเสริมสร้างความรู้และสำนึกในด้านการอนุรักษ์ให้แก่ผู้มาเยือน
ต้องให้ความเพลิดเพลินและความพึงพอใจแก่ผู้มาเยือน
ในการเสริมสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจต้องคำนึงถึงคุณค่าธรรมชาติและความยั่งยืนของระบบนิเวศเป็นสำคัญ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ
การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเป็นการท่องเที่ยวในพื้นที่ธรรมชาติ (Nature-based) ซึ่งจะต้องได้รับการจัดการให้เป็นไปอย่างยั่งยืนหรือเป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) กล่าวคือ สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้พัฒนาในทุก ๆ ด้านอย่างรอบคอบระมัดระวังเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจ สังคมและความงามทางสุนทรียภาพ มีการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างชาญฉลาด เกิดประโยชน์สูงสุดและยาวนานโดยไม่ทำให้สูญเสียเอกลักษณ์ทางธรรมชาติและวัฒรธรรมท้องถิ่น อีกทั้งมุ่งให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสตัดสินใจในทรัพยากรต่อไปด้วย
สำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาตินั้นก็มีได้หลากหลายแต่ ที่หมดก็ต้องอาศัยธรรมชาติเป็นทรัพยากรพื้นฐานในการรองรับกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเน้นเรื่องของการเรียนรู้และการได้รับประสบการณ์จากธรรมชาติ เช่น การเดินป่า ดูนก กิจกรรมท่องเที่ยวแบบชี่นชมธรรมชาติ เช่น การชมทัศนียภาพในบรรยากาศสงบ ปิกนิกหรือกิจกรรมท่องเที่ยวแบบผจญภัย เช่น การปีนเขา ล่องแก่ง เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวแบบใด การท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติก็มุ่งเน้นให้ผู้มาเยือนได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าและน่าประทับใจ รวมถึงได้รับความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้ยังคงทรัพยากรธรรมชาติให้ลูกหลานของเราได้ใช้ประโยชน์เฉกเช่นเราต่อไป
125.24.47.124
Webmaster
ผู้ดูแล
uthayanclub@hotmail.com