Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

uthayanclub@hotmail.com

  กรรณิการ์ (1757 อ่าน)

23 พ.ย. 2554 15:38

กรรณิการ์
ชื่อสามัญ  Night Blooming Jasmine, Night Jasmine, Coral Jasmine
ชื่ออื่น   ปาริชาติ (ทั่วไป)
สกุล 
     Nyctanthes Oleaceae เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกสาม (trichotomous cymes) ติดบนใบประดับ ดอกไร้ก้าน รูปดอกเข็ม ลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายหยักตื้นๆ เกือบเรียบ กลีบดอก 4-8 กลีบ เกสรเพศผู้ 2 อัน เกือบไร้ก้าน ติดเหนือกลีบดอก รังไข่ 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียทรงกระบอก ปลายแยกเป็น 2 แฉก สั้นๆ ผลแบบแคปซูล กลม แบน
     สกุลกรรณิการ์มีสมาชิกเพียง 2 ชนิด มีเขตการกระจายพันธุ์ที่อินเดีย สุมาตรา ชวา และไทย ในไทยพบทั้ง 2 ชนิด ชนิดที่ปลูกเป็นไม้ประดับคือ กรรณิการ์ Nyctanthes arbor–tristis L. และชนิดคือ Nyctanthes aculeata Craib ซึ่งพบเฉพาะในไทยเพียงครั้งเดียวจากตัวอย่าง Kerr no. 3066 เก็บจากริมฝั่งแม่น้ำปิง (Kew Bulletin: 1916: 265) ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมสูญพันธุ์ไปแล้วก็เป็นได้
หมายเหตุ  P. S. Green ผู้ศึกษาวงศ์ Oleaceae สำหรับพรรณพฤกษชาติของประเทศไทยให้สกุล Nyctanthes อยู่ภายใต้วงศ์ Nyctanthaceae และกล่าวว่าใกล้ชิดกับวงศ์ Verbenaceae มากกว่าวงศ์ Oleaceae และไม่ได้รวมไว้ในหนังสือพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยเล่มวงศ์ Oleaceae อย่างไรก็ดีข้อมูลด้านวิวัฒนาการในปัจจุบันจัดให้สกุล Nyctanthes อยู่ภายใต้วงศ์ Oleaceae วงศ์ย่อย Myxopyreae
     ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 10 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรี ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนแข็งสีขาว ก้านใบยาวได้ประมาณ 1 ซม. ดอกออกเป็นกระจุก 3-7 ดอก บนช่อแยกกระจุกแยกแขนงแบบแยกสาม มีใบประดับรอง ดอกไร้ก้าน มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงรูประฆัง หลอดกลีบดอกยาประมาณ 1 ซม. สีส้มแดง กลีบดอก 4-8 กลีบ รูปขอบขนานแคบ บิดเวียนไปทางขวา ปลายกลีบแฉกเป็นพูลึก สีขาว มีแต้มสีส้มแดงด้านใน ยาว 0.5-0.7 ซม. ดอกตอนกลางคืนมีกลิ่นหอมแรงกว่าตอนกลางวัน ผลแบบแคปซูล แบน กลมๆ คล้ายรูปหัวใจ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. แยกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมี 1 เมล็ด
การกระจายพันธุ์
     ถิ่นกำเนิดในอินเดีย สุมาตรา และชวา ในไทยนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
หมายเหตุ  arbor-tristis เป็นภาษาลาตินแปลว่า sad tree
     อนึ่ง ต้นกรรณิการ์ในที่นี้ตรงกับต้นปาริชาติ (Parijat) ในวรรณคดีของอินเดีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับศาสนาฮินดู นอกจากนี้ต้นปาริชาติ ยังเป็นที่เข้าใจว่าเป็นไม้ในพุทธประวัติ แต่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erythrina variegata L. หรือทองหลางลาย ซึ่งไม่น่าจะใช่ เพราะทองหลางลายนี้มีถิ่นกำเนิดตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย อัฟริกา ไปจนถึงออสเตรเลีย ส่วนดอกกรรณิการ์ตามที่ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่องมีดอกสีเหลืองสด เช่นไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท หนังสือเรื่องนางนพมาศ มหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน ปฐมสมโพธิกถาของพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กาพย์ห่อนิราศธารโศก และพระมาลัยคำหลวงของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นต้นสุพรรณิการ์ Cochlospermum religiosum (L.) Alston ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆ ในอินเดียตามชื่อชนิด “religiosum” และชาวอินเดียให้ความเคารพอย่างสูง มักปลูกตามวิหารของพระผู้เป็นเจ้า ชื่อสุพรรณิการ์มาจากภาษาบาลี “เสผาลิกา” แปลว่าต้นไม้มีดอกหอม ส่วนกรรณิการ์มาจากภาษาบาลีเช่นกันแต่แปลว่าช่อดอกไม้
อ้างอิงจาก : สำนักงานหอพรรณไม้

125.24.18.98

Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

uthayanclub@hotmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้