Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

uthayanclub@hotmail.com

  สัตว์ป่าสงวน (7881 อ่าน)

13 ก.ย. 2554 11:13

     ในอดีตที่ผ่านมาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยอุดมสมบูรณ์พื้นที่ป่า ยังคงปกคลุมทั่ว สัตว์ป่ามีอยู่อย่างชุกชุม มีการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยไม่รู้คุณค่า โดยเฉพาะสัตว์ป่า มีการล่าเป็นอาหารล่าเพื่อเป็นกีฬาและ ล่าเพื่อการค้าทั้งในประเทศ และ ส่งออกต่างประเทศ
     โดยปราศจากกฎหมายใด ๆ คุ้มครอง ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น การบุกรุกป่าเพื่อทำกินมีมากขึ้นสัตว์ป่าถูกคุกคามและ ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา ในรอบหลายสิบปีจนบางชนิด ได้สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยสูญพันธุ์ไปจากโลกสัตว์ชนิดนั้นคือ สมัน ซึ่งเป็น กวางที่มีเขาสวยงามที่สุดชนิดหนึ่ง
     ดังนั้นปี พ.ศ. 2503 ภาครัฐโดยการ ร่วมมือขององค์กรอนุรักษ์ต่างๆได้ตระหนักถึงคุณค่าของสัตว์ป่า ผลักดันให้เกิดกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับแรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติสงวน และ คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดสัตว์ป่าที่หายากเป็น สัตว์ป่าสงวน จำนวน 9 ชนิด คือ แรด,กระซู่,กูปรี หรือโคไพร,ควายป่า,ละอง หรือละมั่ง,สมัน หรือเนื้อสมัน,ทรายหรือเนื้อทราย หรือตามะแน,เลียงผา หรือเยือง หรือกูรำ หรือโครำ และ กวางผา
     เมื่อเวลาผ่านไปได้มีการปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์สัตวว์ป่าในประเทศไทย และสอดคล้องกับความร่วมมือด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรระดับนานาชาติได้มีการตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้.มาจนถึงปัจจุบัน
     ซึ่งในพระราชบัญญัติได้แก้ไข เพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ป่าสงวนด้วยพิจารณาเห็นว่าประชากรสัตว์ป่าหลายชนิดเพิ่มขึ้นจากการเพาะขยายพันธุ์ เช่น เนื้อทราย และประชากรสัตว์ป่า อีกหลาย ชนิดลดลงอย่างน่าวิตก เช่น นกแต้วแล้วท้องดำ,นกกระเรียน,แมวลายหินอ่อน หรือสัตว์ป่าบางชนิดไม่มีรายงานการพบเห็นมาเป็นระยะเวลานาน
     จึงได้ถอดชื่อเนื้อทรายออกจากบัญชีสัตว์ป่าสงวน และ เพิ่ม นกเจ้าฟ้าหิงสิริธร,นกแต้วแล้วท้องดำ,นกกระเรียน,แมวลายหินอ่อน,สมเสร็จ,เก้งหม้อ และพะยูน หรือหมูน้ำ รวมเป็นสัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด
     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่าการเผยแพร่ข้อมูลด้านวิชาการที่ถูกต้อง และ สมบูรณ์ให้แก่หน่วยงานทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน นักศึกษานักเรียน และประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึง ความงดงามความมีคุณค่า เกร็ดความรู้ต่างๆของสัตว์ป่าสงวนแต่ละชนิดรวมทั้ง ปัจจัยคุกคามจนทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้นอยู่ในสภาวะวิกฤติประชากรเสี่ยงต่อการสูพันธุ์จะช่วยให้ทุกคนหันมาช่วยกันคุ้มครองป้องกันภัยให้สัตว์ป่าสงวนอยู่รอดสืบลูกหลานต่อไป
     นอกจากนี้เพื่อ เป็นบทเรียนที่คอยเตือนใจให้แต่ละคนร่วมมือหยุดยั้งการล่า การค้าสัตว์ป่า ให้สัตว์ป่าของประเทศไทยได้อยู่รอดปลอดภัยสามารถสืบเผ่าพันธุ์ให้คง อยู่ตลอดไป

อ้างอิงจาก : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า


125.24.44.147

Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

uthayanclub@hotmail.com

Umpan Ikan Patin Terbaik

Umpan Ikan Patin Terbaik

ผู้เยี่ยมชม

hasnikhoirunnisa80@gmail.com

23 มิ.ย. 2560 15:20 #2

Thanks for all the information and if I can come to my article

[url]https://goo.gl/qDjrwY[/url] || [url]https://goo.gl/6cfQ0p[/url] || [url]https://goo.gl/tOhkB4 [/url]|| [url]https://goo.gl/77eUTB[/url]

36.80.41.223

Umpan Ikan Patin Terbaik

Umpan Ikan Patin Terbaik

ผู้เยี่ยมชม

hasnikhoirunnisa80@gmail.com

Essen Ikan Nila Cuaca Hujan Aroma Sawo

Essen Ikan Nila Cuaca Hujan Aroma Sawo

ผู้เยี่ยมชม

rismaharyawanti30@gmail.com

23 ส.ค. 2560 07:46 #3

Oh it turns out, thanks for the enlightenment :)

https://goo.gl/BvMDoM || https://goo.gl/bhqzoU || https://goo.gl/T3A3m1 ||

36.72.127.168

Essen Ikan Nila Cuaca Hujan Aroma Sawo

Essen Ikan Nila Cuaca Hujan Aroma Sawo

ผู้เยี่ยมชม

rismaharyawanti30@gmail.com

Essen Umpan Ikan Lele Aroma Kakap

Essen Umpan Ikan Lele Aroma Kakap

ผู้เยี่ยมชม

rismaharyawanti30@gmail.com

23 ส.ค. 2560 13:34 #4

Visit our article below

https://goo.gl/jFdDKK || https://goo.gl/Q7UGkP || https://goo.gl/V7XyvG ||

36.72.127.168

Essen Umpan Ikan Lele Aroma Kakap

Essen Umpan Ikan Lele Aroma Kakap

ผู้เยี่ยมชม

rismaharyawanti30@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้