Webmaster
uthayanclub@hotmail.com
ลิ่นชวา,ลิ่นพันธุ์มลายู (2077 อ่าน)
27 ก.ย. 2554 17:56
ลิ่นชวา,ลิ่นพันธุ์มลายู
ลักษณะทั่วไป
ปลายจมูกถึงโคนหาง 42.5-55 ซ.ม. หาง 34-47 ซ.ม. หลังมีเกล็ดปกคลุมยาวต่อเนื่องจนเกือบถึงจมูกหนังบริเวณตีนมีลักษณะละเอียด เล็บตีนหน้ายาวกว่าเล็บตีนหลังไม่เกิน 1.5 เท่า เล็บตีหลังยาวมากกว่า 2 เท่าของเล็บตีนหน้า เกล็ดกลางหลังมีปลายตัด อัตราส่วนหางกับความยาวทั้งหมดมากกว่า 0.42 ซึ่งมากกว่าลิ่นพันธุ์จีน
อุปนิสัยและอาหาร
ลิ่นมีอุ้งตีนที่แข็งแร็งและเล็บตีนที่แหลมคมเอาไว้ขุดรังมดรังปลวกที่มันใช้กินเป็นอาหาร โดยอาศัยลิ้นที่ยาวพร้อมเมือกที่เหนียวข้นเป็นสิ่งที่สัตว์ชนิดนี้วิวัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับอุปนิสัยการกินอาหาร เคลื่อนที่ได้ไม่เร็วนัก อาจพบตามไร่ตามนา เวลาอยู่ในวงล้อมของศัตรูจะทำตัวแข็งและงอม้วนตัวเพื่อป้องกันอันตรายวิธีนี้ได้ผลกับสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นมนุษย์ ส่วนใหญ่จะหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่ในโพรง และมักจะอยู่ตัวเดียวโดดๆ
การผสมพันธุ์
พบว่ามันจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และคลอดลูกในหน้าหนาว ตั้งท้องนานประมาณ 130 วันอย่านมเทื่ออายุครบ 3 เดือน เริ่มเข้าสู่ตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 1 ปี
การกระจายพันธุ์
พบได้ในเกือบทุกสภาพป่าทั่วประเทศไทย แม้หย่อมป่ากลางนา แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลงไปมากเนื่องจากการล่า กระจายอยู่ในแถบพม่า ไทย มาเลเซีย
สถานภาพปัจจุบัน
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
IUCN : มีความเสี่ยงน้อย – กลุ่มที่ใกล้ถูกคุกคาม
CITES : Appendix I
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเอาไปกินโดยชาวบ้าน หรือล่าไปขาย เกล็ดคนจีนนิยมนำไปทำยาที่มีสรรพคุณสมานแผล และเป็นส่วนผสมของยาโบราณหลายขนาน หนังเมื่อผ่านกระบวนการฟอกแล้วทำเป็นเครื่องหนังขายได้ราคาสูง
ที่มา
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า
125.24.35.128
Webmaster
ผู้ดูแล
uthayanclub@hotmail.com